B I G B I R D ‘ S

43 แฟ้ม-ITL-20-ACCIDENT

20-ACCIDENT

Definition
    ข้อมูลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน (ER) ของโรงพยาบาล และแผนกทั่วไปของ รพ.สต. ประกอบด้วย

1) ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มารับบริการในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลและสถานบริการระดับปฐมภูมิ

หมายเหตุ
  -  ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มารับบริการ หมายถึง ทั้งที่อาศัยในเขตรับผิดชอบ และนอกเขตรับผิดชอบ
  -  ผู้ป่วย 1 ราย ที่มารับบริการแต่ละครั้ง มี 1 record โดยสามารถเชื่อมโยงกับแฟ้ม SERVICE ด้วยเลขที่ SEQ ข้อมูลวินิจฉัยโรคอยู่ในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD หัตถการและผ่าตัด อยู่ในแฟ้ม PROCEDURE_OPD หากมีการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลจะเชื่อมกับแฟ้ม ADMISSION, DIAGNOSIS_IPD, PROCEDURE_IPD ด้วย AN ในแฟ้ม SERVICE

ลักษณะแฟ้ม  :  แฟ้มบริการ

   จัดเก็บ/บันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มารับบริการ  และส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในรอบของเดือนนั้น ๆ

โครงสร้างแฟ้ม ACCIDENT




ในโครงสร้าง 43 แฟ้ม ของแฟ้ม accident ในช่องสีเขียว เป็นข้อมูลที่ ต้อง บันทึกลงในฐานข้อมูล ผ่านโปรแกรม HOSxP หรือ HIS อื่นๆ ที่หน่วยบริการเลือกใช้ครับ

1.รหัสสถานบริการ :: ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)
2,ทะเบียนบุคคล  ห้ามเป็นค่าว่าง (ทะเบียนของบุคคลที่มาขึ้นทะเบียนในสถานบริการนั้นๆ)
3.ลำดับที่  ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)
4.วันที่และเวลามารับบริการ  ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)
5.วันที่และเวลาเกิดอุบัติเหตุ   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
6.ประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
7.สถานที่เกิดอุบัติเหตุ  ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
8.ประเภทการมารับบริการกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
9.ประเภทผู้บาดเจ็บ (อุบัติเหตุจราจร)   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
10.ประเภทยานพาหนะที่เกิดเหตุ   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
11.การดื่มแอลกอฮอลล์   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
12.การใช้ยาสารเสพติดขณะเกิดอุบัติเหตุ   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
13.การคาดเข็มขัดนิรภัย  ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
14.การสวมหมวกนิรภัย   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
15.การดูแลการหายใจ  ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
16.การห้ามเลือด  ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
17.การใส่ splint/ slab   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
18.การให้น้ำเกลือ   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
19.ระดับความเร่งด่วน   ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง)
20.ระดับความรู้สึกทางด้านตา   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
21.ระดับความรู้สึกทางด้านการพูด   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
22.ระดับความรู้สึกทางด้านการเคลื่อนไหว   ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
23.วันเดือนปีที่ปรับปรุงข้อมูล  ห้ามเป็นค่าว่าง (โปรแกรม Gen)

การบันทึกข้อมูลให้ได้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ มีขั้นตอนดังนี้

ระบบผู้ป่วยนอก > Emergency Room > ระบบห้องฉุกเฉิน > เลือกผู้มารับบริการ > เลือกแถบ วินิจฉัย[F2] > อุบัติเหตุ




ข้อมูลในช่องสีแดง ต้องบันทึกข้อมูล (ห้ามเป็นค่าว่าง) เพื่อวส่งออก 43 แฟ้ม ของแฟ้ม ACCIDENT
ข้อมูลในช่องสีเขียว ควร บันทึกข้อมูล (ถ้าทราบข้อมูล)
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า