B I G B I R D ‘ S

การ Restore ข้อมูล HOSxP เข้า Notebook

สวัสดีครับ เพื่อนๆพี่น้องชาว blog และผุ้สนใจทั่วไปครับ วันนี้ผมจะมาสอนการ restore ข้อมูล hosxp เข้าในเครื่อง notebook เพื่อนำไปใช้งาน offline ครับ

1.ลงฐานข้อมูล mysql ก่อนนะครับ หากเครื่องไหนมีแล้ว ก็ไม่ต้องลงอีกข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย โดยลงจากไฟล์ Full Setup HOSxP 3.55.10.8 เพราะเป้น mysql เวอรืชั่น 5.5.32 ครับ ดับเบิ้ลคลิกโลด


 2.โปรแกรมถาม License Agreement ให้เราตอบ I Agree


 3.ขั้นตอนนี้ ให้ติ๊กเลือก ทั้ง 2 ข้อ ในกรณียังไม่เคยลง HOSxP และ MySQL ครับ  ถ้าใครยังไม่มี MySQL ก็ให้เลือกติดตั้งแต่เฉพาะ MySQL นะครับ



4.เมื่อติดตั้ง MySQL เรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ Navicat สร้าง Connection เพื่อติดต่อกับ MySQL


 5.กรอกข้อมูลดังนี้

  • Connection Name : ชื่ออะไรก็ได้ เป็นภาษาอังกฤษ
  • Host Name/IP Address : ให้ใส่ localhost หรือ 127.0.0.1
  • Port : 3306
  • Username : sa 
  • Password : sa

หมายเหตุ : หากใครติดตั้ง MySQL จาก HOSxP ในข้อ 3 Username/Password จะใช้ sa นะครับ


 6.เมื่อสร้าง Connection  MySQL ด้วย Navicat เรียบร้อยแล้ว  ให้ดับเบิ้ลคลิก ที่หน้าต่างด้านซ้ายมือ ตามชื่อ Connection Name  ที่เราตั้งชื่อไว้ในข้อ 5 ให้สถานะของ MySQL เป้นสีเขียวก่อนนะครับ


 7.คลิกขวาที่ชื่อ Connection Name ที่เราตั้งไว้ แล้วเลือก New Database เพื่อสร้างฐานข้อมูล ใหม่



 8.กรอกข้อมูลดังนี้

  • Database Name : ตั้งชื่อฐานข้อมูลที่เราต้องการใช้อักษรอังกฤษเท่านั้น ไม่มีช่องว่าง เช่น hosxp_pcu
  • Chracter set : เลือกเป็น tis620 -- TIS620 Thai เท่านั้น
  • Collation : tis620_thai_ci เท่านั้น




9.เปิดโปรแกรม HOSxP ขึ้นมา แล้วกดตั้งค่า Connection ดังรูป



 10.กรอกข้อมูลดังนี้
Host : localhost หรือ 127.0.0.1
Database : ชื่อฐานข้อมูลที่เราตั้งไว้ในข้อ 8
User : sa
Password : sa
แล้วกดปุ่ม ทดสอบการเชื่อมต่อ ถ้าหาก เชื่อมต่อฐานข้อมูลได้ จะขึ้น Popup ดังภาพ



11.ก่อนออกจากหน้า ตั้งค่าการเชื่อมต่อฐานข้อมูล ในช่อง Provider Url ให้เราใส่คำว่า emergency แล้วคลิก ตกลง


12.ในช่อง Login และ Password ให้ใส่ emergency แล้วคลิก ตกลง



 13.เมื่อเข้ามาแล้วจะมีหน้าต่าง Mysql Restore ให้คลิกที่ "นำข้อมูลมาใช้ (Restore)" แล้วกดเลือกไฟล์ backup ที่เรามี



 14.เมื่อเลือกไฟล์ backup ได้แล้วให้คลิกที่ปุ่ม Check Backup เพื่อตรวจสอบไฟล์ Backup ที่เรามี

    ในขั้นตอนนี้มี 2 กรณีให้เลือก คือ

    14.1 ต้องการ นำข้อมูลตารางที่เลือกเท่านั้น มาใช้งาน โดยเลือกข้อมูลตารางบางตารางมาให้ กรณีนี้ส่วนมากจะใช้กันแพร่หลาย เพราะ เราจะยังไม่ีนำตารางที่ลงท้ายด้วย _log มาใช้ในตอนนี้เพราะว่า จะทำให้การ Restore ข้อมูลเกิดความล่าช้าในขั้นตอนนี้ โดยขั้นตอนการเลือกตาราง คือ คลิกเลือกตารางแรก แล้ว กดปุ่ม Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วเลือกเม้าส์ลงมาล่างสุดในช่องของชื่อตารางที่ปรากฏ จากนั้น คลิกเลือกตารางสุดท้าย ทุกตารางจะถูกเลือก แล้วให้ปล่อยปุ่ม Shift แล้วกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกตารางที่ไม่ต้องการออก

    14.2 ต้องการ นำข้อมูลทั้งหมดทุกตารางมาใช้  ขั้นตอนนี้จะใช้ในกรณีที่นำเข้าข้อมูลกลับเข้าสู่เครื่อง Server เพราะมีทรัพยากรเครื่องที่ดีกว่า Notebook


เมื่อได้เลือกในข้อ 14 ไปแล้ว ขอให้รอจนกว่าจะมี popup ข้อความขึ้นมาว่า Restore Done ครับ เท่านั้น ท่าก็จะได้ ข้อมูล Offline ไปใช้ในการทดสอบการใช้งาน หรือเขียนรายงานของท่านแล้วครับ

คำเตื่อน โปรดใช้ด้วยความระมัดระวังหากไม่มั่นใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า