B I G B I R D ‘ S

การตั้งค่าพื้นฐานโปรแกรม ds service 1.55.7.24


สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆ เครือข่ายพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลชุมชน ในวันหยุดยาว ๔ วันนี้ หลายคนอาจจะไปทำบุญ หลายคนไปเที่ยวกับครอบครัว หลายคนพักผ่อนที่บ้านหากิจกรรมทำ ส่วนผมก็คงนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน หาสาระจากอินเตอร์เน็ตบ้าง หรือไร้สาระบ้าง(ส่วนมากจะไร้สาระ ๕๕๕) วันนี้เลยมีเวลาได้เขียนบทความเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่มีอยู่ในหัวขี้เลื่อยของผมเอามาแบ่งปันให้กับชาวเครือข่ายฯครับ เอาล่ะ เริ่มเลยละกัน
วันนี้จะมาบอกเทคนิคการตั้งค่าพื้นฐาน โปรแกรม DS_SERVICE 1.55.7.24 ในส่วนของเมนูความเสี่ยงครับ

๑.Login เข้าสู่โปรแกรม ds_service กันเลยครับ


๒.คลิกเข้าสู่เมนู ความเสี่ยง โดยไปที่ ระบบงานสนับสนุน > บริหารความเสี่ยง > ระบบบริหารความเสี่ยง ดังรูป


๓.จะเข้าสู่หน้าต่างของโปรแกรมบริหารความเสี่ยง ก่อนที่เราจะใช้งานโปรแกรมบริหารความเสี่ยงได้นั้นจำเป็นต้องตั้งค่าพื้นฐานให้กับโปรแกรมก่อน โดยกำหนดค่าพื้นฐาน เช่น หน่วยงาน(หน่วยงานที่รายงาน) , สถานที่เกิดเหตุ เป็นต้น โดยตารางหน่วยงานที่รายงาน และ สถานที่เกิดเหตุ สามารถนำเข้าจากตารางที่แนบมาให้ท่านทั้งหลายได้ดาวน์โหลดไปแล้ว ดังรูป


๔. คลิกที่ ตั้งค่าพื้นฐาน เพื่อเพิ่มหรือแก้ไขหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถานที่เกิดเหตุ ดังรูป


๕. เมื่อเพิ่ม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ สถานที่เกิดเหตุ เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่เมนู กำหนดประเภทอุบัติการณ์ ดังรูป


๖. จะปรากฏหน้าต่างการตั้งค่าประเภทความเสี่ยง ดังรูป


กรอบสีแดง ประเภทความเสี่ยง
     จะกำหนดประเภทความเสี่ยง (กำหนดได้ไม่เกิน ๘ กลุ่ม) ของผมได้ตั้งไว้คือ
          ๑.ด้านระบบคลินิก
          ๒.ด้านระบบยา
          ๓.ด้านสิทธิผู้ป่วย / จริยธรรมองค์กร
          ๔.ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
          ๕.ด้านการป้องกันการติดเชื้อ
          ๖.ด้านทรัพยากร
          ๗.ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร
          ๘.ด้านการบันทึกเวชระเบียน

กรอบสีเหลือง รายละเอียดของประเภทความเสี่ยง
     รายละเอียดของประเภทความเสี่ยง จะเป็นรายละเอียดของประเภทความเสี่ยง เช่น
          ๑.ด้านระบบคลินิก มีรายละเอียด เช่น ผู้ป่วยล้ม , ผู้ป่วยตก โต๊ะ/เตียง/เก้าอี้ , ผู้ป่วยทำร้ายตนเอง เป็นต้น

กรอบสีเขียว รายละเอียดย่อย
     รายละเอียดย่อย เป็นคำจำกัดความของ รายละเอียดในกรอบสีเหลือง ในที่นี้จะใส่หรือไม่ก็ได้

ข้อแนะนำ เพื่อการสะดวกในการกรอกข้อมูลในรายละเอียดของประเภทความเสี่ยง แนะนำให้ส่งออกตาราง type_risk_all เป็นแบบ excel แล้วนำข้อมูลกรอกใน excel ให้เรียบร้อยแล้วค่อยนำเข้ามาใส่ในตาราง type_risk_all ดังรูป


ในที่นี่ผมได้ใช้โปรแกรม Navicat ในการ export ตาราง type_risk_all โดย คลิกขวาที่ตาราง type_risk_all แล้วเลือก export wizard เลือกเป็นแบบ excel

















เลือกรูปแบบการส่งออกเป็น Excel จะเลือกเป็น version 2003 หรือ 2007 ก็ได้ครับแล้วแต่จะสะดวก


เลือกที่อยู่จัดเก็บตามต้องการ


เมื่อเลือกที่อยู่จัดเก็บแล้วจะปรากฏ ที่อยู่จัดเก็บดังรูป


คลิกปุ่ม >> และ คลิก Start เพื่อเริ่มต้นการส่งออก



จากนั้นนำข้อมูลรายละเอียดที่ต้องการใส่เข้าไปใน Excel ให้เรียบร้อย
โดยต้องกำหนด ฟิลด์ c ใส่เลขของประเภทเมนูความเสี่ยงของแต่ละประเภท






เรียบร้อยละครับ อาจจะเป็นทริปเบื้องต้นนะครับ ยังไงถ้าผมได้เทคนิคอะไรเพิ่มเติมจะนำมาแบ่งปันให้กับเพื่อนในกลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศฯ อีกทีนะครับ โปรดติดตามตอนต่อไป

3 ความคิดเห็น

  1. ยอดเยี่ยมครับ ได้สิทธิรับลิงค์ Download คนแรกเลย

    ตอบลบ
  2. อยากได้ลิงค์ Download บ้างครับ ต้องทำยังไง

    ตอบลบ
แสดงความคิดเห็น
ใหม่กว่า เก่ากว่า